ดนตรีไม่เพียงเป็นตัวละครสำคัญอีกตัวในหนัง  CODA เพราะ รูบี้ มีความสามารถด้านการร้องเพลง รูบี้ ยังใช้เสียงเพลงเพื่อสื่อความรู้สึกในใจออกมา เป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้ทั้ง ไมลส์ และ รูบี้ ผูกพันกันมากขึ้น จริงๆ แล้ว ดนตรีมีความสำคัญต่อเรื่องราวมากทำให้ขั้นตอนการเลือกใช้เพลงประกอบมีความสำคัญมากๆ เพราะจะส่งผลสำคัญต่อเนื้อหาของเรื่อง และพัฒนาการของตัวละคร

การประพันธ์ดนตรีในหนังเรื่องนี้ ชอน เดอวรีส์  ผู้กำกับทำงานอย่างใกล้ชิดกับ นิค แบ็กซ์เตอร์ โปรดิวเซอร์ชื่อดังผู้จบการศึกษาจากสถาบันดนตรีเบิร์กลี่ย์ และอยู่เบื้องหลังดนตรีประกอบในหนังดังๆ เจ้าของรางวัลออสการ์ อาทิ La La Land และ A Star is Born เป็นต้น เดอวรีส์ และ แบ็กซ์เตอร์ พบว่ามีหลายฉากหลายตอนที่บทสนทนาสามารถเกินขึ้นได้ในรูปแบบของภาษามือ

แบ็กซ์เตอร์เสริมว่า “ชอน อยากใช้ดนตรีที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นธรรมชาติ ความดิบ ไม่รู้สึกว่ามันประดิษฐ์เกินไป เราไม่ได้ต้องการจะสร้างหนังเพลงอะแคปเปล่า แต่สิ่งสำคัญคือการหาศิลปินที่สัมผัสถึงอารมณ์ดังกล่าว เพราะการผจญภัยชองรูบี้ หลักๆ แล้วมันเป็นเรื่องของการตามหาเสียงที่ใช่สำหรับเธอ

เพลงโซลคลาสสิค You’re All I Need to Get By ต้นฉบับเป็นของ แทมมี่ เทอร์เรล และ มาร์วิน เกย์ เมื่อปี 1968 และถือเป็นเพลงสำคัญของเรื่อง “เราใช้เพลงนี้เป็นเพลงที่เบอร์นาโดใช้ในการสอน มันช่วงทำให้เคมีระหว่าง รูบี้ และ ไมลส์ เข้มข้นขึ้น และที่สำคัญมากๆ มันคือเพลงที่ รูบี้ ใช้เพื่อสื่อความรู้สึกของเธอไปถึงพ่อ

จากนั้นความท้าทายก็ตกอยู่ที่ โจนส์ และ วอลช์-พีโล ที่ต้องร้องเพลงดังกล่าวออกมา และเพื่อเตรียมความพร้อม โจนส์ สำหรับการร้องเพลงโซโล่เดี่ยว Both Sides Now ของไอคอนเพลงโฟล์กอย่าง โจนี่ มิทเชลล์ รูบี้ เลือกเพลงบัลลาดทรงพลังเพลงนี้เพื่อใช้เป็นเพลงสำหรับออดิชั่นเข้าเรียนต่อที่ เบิร์กลี่ย์ เธอและครูวีทำการบ้านอย่างหนักเพื่อเตรียมความพร้อมเธอ ใช้เวลาซ้อมคืนแล้วคืนเล่า และในช่วงสุดสัปดาห์ที่บ้านเขาในขณะที่เขาดีดเปียโนไปขณะที่เธอขับร้อง เมื่อ รูบี้ เริ่มมั่นใจมากขึ้นในเสียงและการแสดงของเธอเอง เมื่อถึงเวลาที่ต้องออดิชั่นจริงๆ เธอก็หลุดเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งกับเนื้อร้อง ทำนอง และสื่อความออกมาผ่านทั้งเสียงร้องและภาษามือ

เดอวรีส์อธิบายว่า “นิคและผมรู้สึกเหมือนยกภูเขาออกจากอกตอนที่ เฟอร์เดีย และ เอมิเลีย พร้อมขับร้องบทจอหนัง เราดูสิ่งที่จำเป็นสำหรับพวกเขาทั้งในขั้นตอนการวอร์มเสียง และการโค้ช เราเริ่มเข้าใจถึงพลังเสียงของทั้งคู่ โดยเฉพาะกับ เอมิเลีย การแสดงของเธอแต่บะครั้งจะมีต้องนำเสนอการเติบโตที่แตกต่างกันออกไป ตลอดทั้งเรื่อง เราพบว่ามันวิเศษมากๆ ที่ได้เห็นความทรงพลัง และความมานะอุตสาหะ ตลอดการถ่ายทำ ทั้งการเรียนรู้ภาษามือและยังต้องเรียนรู้เพลงใหม่ๆ แต่ละเพลง และต้องเรียนรู้การสอดประสานกันของทั้งคู่ไปจนจบเรื่องเลยครับ

โจนส์ อาจมีประสบการณ์การร้องเพลงไม่มากนักตอนที่ได้รับบทเป็น รูบี้ เธอเคยรับบทเป็นเจ้าหญิงฟิโอน่าในวัยเด็กในละครเวที Shrek: The Musical ตอนอายุ ขวบ และคอยร้องประสานเสียงในโรงเรียนมาบ้าง “แต่ไม่เหมือนกับที่ครูวีสอนเลยค่ะ” โจนส์เล่า

ส่วนพระเอกของเธอบนจอ วอลช์-พีโล มีประสบการณ์มาพอสมควร “ตอนผมยังเด็ก ผมเคยรับหน้าที่ร้องเสียงโซปราโน่ และร้องโซโล่ในบางท่อนอยู่บ้างครับ ผมเคยเล่นดนตรีแล้วก็ร้องประสานเสียงมาก่อนด้วย” ทั้งนี้สมาชิกในวงที่ร่วมขับร้องกับ โจนส์ และ วอลช์-พีโล เป็นนักเรียนจากเบิร์กลี่ย์ตัวจริงเสียงจริง และอยู่ในวงอะแคปเปล่าที่ชื่อ Pitch Slapped

รูสเซเล็ต เล่าอีกว่า “ความหวังของเราคือคนดูจะเดินออกจากโรงพร้อมความรู้สึกใกล้ชิดกับตัวละคร และชุมชนคนหูหนวก และให้ความสนใจใคร่รู้เกี่ยวกับพวกเขามากขึ้น และแน่นอนค่ะ เราหวังว่าจะสนุกไปกับหนังเรื่องนี้ด้วยนะ” เฮเดอร์ ทิ้งท้ายว่า “ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในหนังเรื่องนี้ ประสบการณ์ที่ได้ทำหนัง ได้ผูกพันกับสิ่งที่ฉันสร้างขึ้น และเปิดประตูให้โลกได้รับรู้ก็ถือเป็นสิ่งที่มีค่าและทรงพลังมากๆ การทำหนังเรื่องนี้เปลี่ยนแปลงมุมมองและความคิดของฉันเยอะมากค่ะ

CODA  โคด้า หัวใจไม่ไร้เสียง

30 ธันวาคม ในโรงภาพยนตร์

 

CODA — “Both Sides Now” Audio: https://youtu.be/BrNqZ853Tkc

 

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบ