กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประชุมหารือและติดตามความก้าวหน้าการเตรียมการจัดตั้งศูนย์วิจัย CMU – UK Research Center for Aging and Chronic Conditions ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ London School of Hygine & Tropical Medicine ( LSHTM ) รวมทั้งแลกเปลี่ยน แนวทางการประเมินคุณภาพงานวิจัย ( Research Excellence Framework )  ของ LSHTM ภายใต้ โครงการ Thai – UK World Class University Consortium  โดยศูนย์วิจัยจะทำการมุ่งเน้น

1.      งานวิจัยเพื่อวัดขนาดปัญหา รวมถึงศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดและการดำเนินโรค และศึกษาแนวทางแก้ไข หรือลดภาวะโรค

2.      พัฒนาศักยภาพนักวิจัยในการใช้ฐานข้อมูล Electronic health Records and Digital health ในงานวิจัย เพื่อให้ส่งเสริมสุขภาพ ลดภาระโรค และลดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพ ในสังคมไทยที่จะก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ

ศาสตราจารย์ ดร. ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วย นายพันธ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี และรศ.ดร.รัฐชาติ มงคลนาวิน ได้เข้าร่วมประชุมหารือ และติดตามความก้าวหน้าโครงการ Thai-UK World-class University Consortium ที่ดำเนินการร่วมกัน ระหว่าง สป. อว. และ British Council ในการสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาไทยสามารถก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลกและยกระดับการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้ได้รับการยอมรับในระดับสากล  โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมศักยภาพและการอำนวยความสะดวกมหาวิทยาลัยไทย ในการสร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของสหราชอาณาจักร  เพื่อสร้างความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยไทย และสหราชอาณาจักรและสนับสนุนความก้าวหน้าของมหาวิทยาลัยไทยให้สามารถแข่งขันได้ในระดับโลก โดยมีวัตถุประสงค์ของโครงการ

1.         เพื่อสร้างกลไกในการเพิ่มความร่วมมือเชิงกลยุทธ์เพื่อจัดการกับลำดับความสำคัญของกลยุทธ์ร่วมกันระหว่างสถาบันอุดมศึกษาของไทยและสหราชอาณาจักร

2.         เพื่อสนับสนุนความก้าวหน้าของระบบการเรียนการสอนการวิจัยและระบบบริหารมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพผ่านการพัฒนาบุคลากรด้วยความเชี่ยวชาญจากสหราชอาณาจักร

3.         เพื่ออำนวยความสะดวกในการพัฒนาโครงการความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาของไทยและสหราชอาณาจักรและสนับสนุนให้เกิดกลไกการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในรูปแบบต่างๆ

ศาสตราจารย์ ดร. ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวถึง ตลอดระยะเวลาในการประชุมหารือ ณ สหราชอาณาจักร ได้นำเสนอแนวทางด้านการพัฒนาอุดมศึกษาในประเทศไทย การผลักดันศักยภาพบุคลากรด้านอุดมศึกษาตลอดจนนักวิจัย และการพัฒนาโครงการความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาของไทยและสหราชอาณาจักร และแนวทางการผลักดันร่วมกับผู้บริหารและนักวิจัยของ QS Quacquarelli Symonds Ltd (QS) หน่วยงานจัดอันดับชั้นนำของโลก หารือแนวทางในการสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาของไทยเข้าสู่ระบบการประเมินคุณภาพผ่านระบบ QS Stars Rating   และนำข้อมูลการประเมินคุณภาพผ่านระบบ QS Stars Rating มาใช้ในการดำเนินการ ที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายเพื่อส่งเสริมและยกระดับให้สถาบันอุดมศึกษาของไทยมีคุณภาพและมาตรฐานในระดับสากลต่อไป

“ประเด็นสำคัญในการประชุมครั้งนี้ กับการประชุมหารือความร่วมมือกับ Times Higher Education (THE) สถาบันการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ในการสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาของไทยเข้าสู่ระบบการจัดอันดับของ THE University Impact Rankings ตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) พร้อมทั้ง การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการสำหรับสถาบันอุดมศึกษาของไทยในการจะส่งข้อมูล (Data Submission) เพื่อการจัดอันดับ Impact Ranking ประจำปี 2023 มุ่งให้เกิดการจัดอันดับของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยในระบบการจัดอันดับของ THE University Impact Rankings สร้างความเชื่อมือมั่นในระดับนานาชาติอีกด้วย” ศาสตราจารย์ ดร. ศุภชัย ปทุมนากุล กล่าวทิ้งท้าย